พฤศจิกายน 18, 2021
ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับกระตุ้นสมองด้วย TMS รักษาโรคซึมเศร้า
ปัจจุบันตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ความเป็นอยู่และการดำรงชีวิตหลายอย่างเปลี่ยนไป มีการสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง ลดการติดต่อไปมาหาสู่กัน ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดติดเชื้อหรือเสียชีวิต ปัจจัยเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจ และมีแนวโน้มพบผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากขึ้น
TMS (Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นทางเลือกหนึ่งใน การรักษาโรคซึมเศร้า ร่วมกับการดูแลจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยพบว่าเทคโนโลยี TMS สามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ดี ประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะการรักษาในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือดื้อยา หรือมีผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ในการรักษา
TMS คือ การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนำให้สมองฟื้นฟู ปรับระเบียบรูปแบบการทำงานให้ดีขึ้น โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือปนเปื้อนรังสีใด ๆ TMS จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านทางเครื่องมือ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวางเครื่องมือดังกล่าว ไว้บริเวณสมองที่ต้องการกระตุ้น ในโรคซึมเศร้าจะกระตุ้นที่สมองด้านหน้าซ้าย ใช้เวลาโดยประมาณ 30-40 นาทีต่อครั้ง กระตุ้นทั้งหมด 20-30 ครั้ง ภายในระยะเวลา 4-6 สัปดาห์
นอกจากนี้ TMS ยังใช้เป็นทางเลือกในการรักษาโรคอื่นอีก เช่น ฟื้นฟูกำลังของแขนขา ในผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดเลือดสมอง เป็นต้น
ผลข้างเคียงของการรักษา ขณะกระตุ้นสมองอาจมีความรู้สึกเหมือนกะโหลกศีรษะถูกเคาะ แต่ไม่เจ็บ ใบหน้าใกล้เคียงกับตำแหน่งที่กระตุ้นอาจมีการกระตุกได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติอาจมีความรู้สึกปวดศีรษะบ้างหลังกระตุ้นเสร็จ แต่มักไม่รุนแรง ผลข้างเคียงที่สำคัญแต่พบได้น้อยมาก คืออาการชัก ซึ่งพบได้ประมาณ 0.02 – 0.2%
การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยเทคโนโลยี TMS เป็นการรักษาทางเลือกหนึ่ง ที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสมในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีผลข้างเคียงหรือดื้อกับยาที่ใช้ในการรักษา ช่วงลดอาการ และความรุนแรงของตัวโรค ปรับสมดุลภายในสมอง และที่สำคัญที่สุดคือ ผลข้างเคียงน้อย ปลอดภัย