Blog

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) เป็นภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างนอนหลับ เป็นอันตรายและอาจทำให้เกิดความผิดปกติอื่นตามมาจนถึงเสียชีวิตได้ พบได้ในทุกอายุ โดยมักจะพบมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หรือกลุ่มคนที่น้ำหนักตัวมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่สังเกตถึงความผิดปกติในขณะหลับของตนเอง บ่อยครั้งที่ผู้พบความผิดปกติเป็นคู่สมรสหรือคนใกล้ชิด

อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

  • นอนกรน
  • หยุดหายใจในขณะหลับ
  • ตื่นขึ้นมาเพราะหายใจแรง, สำลัก หรือหายใจติดขัดหรือไม่
  • ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกเจ็บคอและปากแห้ง
  • นอนเตะขาไปมาในขณะหลับ
  • รู้สึกกระสับกระสายจนต้องการขยับขา ในขณะที่นอนเฉยๆ ช่วงกลางคืน
  • ละเมอเดิน
  • ฝันร้าย
  • ฝันผวา
  • ละเมอพูด
  • ละเมอทานอาหาร
  • ออกท่าทางขณะฝัน
  • นอนตกเตียง
  • อาการชัก / ชักขณะหลับ
  • นอนกัดฟัน

หากคุณมีอาการเหล่านี้ แปลว่าคุณกำลังเสี่ยงกับภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจทำให้เกิดความผิดปกติอื่น ๆ ตามมาจนอาจเสียชีวิตได้ แพทย์อาจจะให้คุณเข้าตรวจสุขภาพการนอนหลับในการช่วยวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยจะบันทึกการหายใจและการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายขณะคุณกำลังนอนหลับ

ทางเลือกการรักษา

  1. การปรับพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่
    > การลดน้ำหนักตัว โดยการควบคุมอาหาร
    > ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    > หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    > หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับ
    > ปรับท่านอนเป็นท่านอนตะแคงจะช่วยให้อาการลดลง
    > หลีกเลี่ยงภาวะอดนอน
  2. การใช้เครื่องช่วยสร้างแรงดันบวกในทางเดินหายใจ
    > (Positive airway pressure therapy, PAP) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง เพื่อรักษาภาวะอุดกั้นทางเดิน หายใจ ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบัน
  3. การใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรมช่องปาก
    > ใช้ในกรณีที่อาการไม่รุนแรง
  4. การรักษาด้วยการผ่าตัด
    > มีการผ่าตัดได้หลายวิธี ขึ้นกับระดับความรุนแรงและอวัยวะที่ทำให้เกิดการอุดกั้นขณะนอนหลับ ซึ่งจะพิจารณาร่วมกับแพทย์ผู้ดูแลรักษา

การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test) เป็นการตรวจเพื่อค้นหาความผิดปกติของร่างกายขณะนอนหลับ โดยเป็นการตรวจในช่วงเวลากลางคืนประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจวัดคลื่นสมอง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจวัดลมหายใจ ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจ ตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ตรวจเสียงกรน ตรวจท่านอน และตรวจวัดความอิ่มตัวของระดับออกซิเจนในเลือด ประมวลผลโดยเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับและรายงานผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผลของการตรวจจะช่วยการวินิจฉัยโรคและประเมินระดับความรุนแรงของโรคได้ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น การกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ

You may also like